วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ผลงานวิชาเศรษฐศาสตร์

 อุปสงค์

ปริมาณสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่มีผู้ต้องการซื้อ

กฎของอุปสงค์

ปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อในขณะใดขณะหนึ่งจะมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับราคาสินค้าชนิดนั้น


อุปทาน

ปริมาณสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตเต็มใจนำออกเสนอขายในตลาดภายในระยะเวลาหนึ่ง 

กฎของอุปทาน

ปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตเต็มใจจะนำออกขายในระยะเวลาหนึ่งขึ้นอยู่กับราคาสินค้านั้นๆ ในทิศทางเดียวกัน”  กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้นปริมาณอุปทานจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตมีความต้องการที่จะเสนอขายมากขึ้น เพราะคาดการณ์ว่าจะได้กำไรสูงขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อราคาสินค้าลดลงปริมาณอุปทานจะน้อยลง เนื่องจากคาดการณ์ว่ากำไรที่ได้จะลดลง


เงินเฟ้อ

 หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วๆ ไปเพิ่มสูงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องหากสินค้ามีระดับราคาสินค้าสูง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ยังไม่ถือว่าเกิดเงินเฟ้อ จำเป็นต้องสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยอาจมีสินค้าบางชนิดราคาสูงขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าบางชนิดคงที่หรือลดต่ำลง

 ผลกระทบ  =  อำนาจซื้อของเงินลดลง การกระจายรายได้เหลื่อมล้ำ อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินสูงขึ้น ผลที่มีต่อการคลังของรัฐบาล ผลที่มีต่อดุลการชำระเงินของประเทศ ผลที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ


เงินฝืด

  หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วๆ ไปลดลงเรื่อยๆ และต่อเนื่องผลของภาวะเงินฝืดจะตรงข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ กล่าวคือผู้มีรายได้ประจำและเจ้าหนี้จะได้รับประโยชน์ส่วนพ่อค้า นักธุรกิจ และผู้ถือหุ้น จะเสียเปรียบ ในภาวะเช่นนี้ทำให้ผู้ผลิตขายสินค้าไม่ออก การผลิต การลงทุนและการจ้างงานลดลง ทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้น

 ผลกระทบ = เกษตรกร พ่อค้าและนักธุรกิจ ผู้มีรายได้ประจำลูกหนี้และเจ้าหนี้ รัฐบาล

 


   

ผลงานวิชาเศรษฐศาสตร์

  อุปสงค์ ปริมาณสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่มีผู้ต้องการซื้อ กฎของอุปสงค์ ปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อในขณะใดขณะหนึ่งจะมีความสัม...